วันอังคารที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2554

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่15

วันพุธ ที่ 28 กันยายน 2554
 
 การเรียนการสอน
 
 อาจารย์ได้สรุปสารสำคัญที่เกี่ยวกับวิชาสื่อเพื่อการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัยว่าที่ได้เรียนมาทั้งหมดนี้ได้อะไรกลับไปบ้าง
1.ในการผลิตสื่อต้องขึ้นอยู่กับเวลาและทุนที่จะจัดทำ
  การทำสื่อได้พัฒนาการด้านทักษะต่างๆได้ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการผลิตสื่อเพื่อการเรียนรู้ให้กับเด็ก
ได้เรียนรู้เรื่องการทำเกมการศึกษาและได้ลงมือปฏิบัติเพื่อจะทำไปให้กับเด็กอย่างไร ได้เรียนรู้วิธีการเก็บรักษาสื่อที่เราสามารถจะเก็บรักษาไว้ได้นานไม่บุบสลายและสามารถนำกลับมาใช้ได้อีกครั้ง

2. สื่อเพื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย

- การเชื่อมโยงสื่อ
-เทคนิคการทำสื่อ
-การทำงานร่วมกับผู้อื่น
-ประเภทของสื่อ
-ความหมายและวัตถุประสงค์
-การทำBlogger เพื่อเป็นสื่อการสอน
-การเก็บรักษา

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่14

วันพุธ ที่ 21 กันยายน 2554

ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากตอนเช้ามีงานเกษียณของอาจารย์ในคณะศึกษาศาสตร์ และตอนบ่ายมีการแสดงของนักศึกษาปีที่2 ได้จัดการแสดงนาฏศิลป์ไทยในวิชา การจัดประสบการณ์นาฏศิลป์และเพลงสำหรับเด็กปฐมวัย ของ อาจารย์เสาวลักษณ์ (EAED 2203 ) ณ อาคารจันทรา - กาญจนาภิเษก
(ชั้น8)

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่13

วันพุธ ที่ 14 กันยายน 2554
 
   วันนี้อาจารย์ได้แจกเอกสารเกมการศึกษา พร้อมกับอธิบายวิธีการทำเกมการศึกษา

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่12

วันพุธ ที่ 7 กันยายน 2554

 อาจารย์ได้ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มๆละ 3-5 คน เพื่อจัดทำเกมการศึกษา พร้อมจับฉลากเลือกหน่วยที่จะทำและอาจารย์ได้แจกกระดาษแข็งให้แต่ละกลุ่ม กลุ่มละ1แผ่น

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่11

วันพุธ ที่ 31 สิงหาคม 2554

การเรียนการสอน

อาจารย์ได้ให้นักศึกษาส่งงานการประดิษฐ์ จากขวดน้ำ โดยนักศึกษาจับกลุ่มๆละ3-4คน ต่อหนึ่งชิ้นงานและอาจารย์ได้ให้นักศึกษาทำ Mindmap เกี่ยวกับเกมการศึกษา

บันืกการเรียนรู้ที่10

วันพุธ ที่ 24 สิงหาคม 2554
การเรียนการสอน
    -เกมการศึกษา
            -เพลง
            -นิทาน
            -ต้นแบบ
            -เทคนิค
                  -เคลื่อนไหว เช่น เดิน หมุน Pop  up  ภาพนูน เชือกชัก วัตถุเหมือน
- ทำไมต้องทำสื่อ ----- การทำสื่อขึ้นมาเพื่อนให้เราได้เห็นของจริง ได้สร้างและผลิต

ตัวกำกับ

    -ตัวเด็ก
    -สาระของเรื่อง
    -เวลา
    -งบประมาณ

ตัวอย่างการสอน หน่วยผลไม้
    1.กิจกรรมเสริมประสบการณ์ (ความรู้/ทักษะ) เช่น ภาพ นิทาน ผลไม้จริง คำคล้องจอง
    2.กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ เช่นการร้องเพลง การเต้น
    3.กิจกรรมเกมการศึกษา
    4.กิจกรรมกลางแจ้ง
    5.ศิลปะ เช่น การวาดภาพ เป็นต้น
    6.กิจกรรมเสรี(การเล่นตามมุม)